จะชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านต้องใช้ไฟสามเฟสถึงจะเร็ว จริงหรือไม่?

ขึ้นกับลักษณะการใช้งาน (ซึ่งจะมีผลกับปริมาณไฟที่ชาร์จต่อวัน) และสเป็คของรถด้วยว่ารับได้ที่เท่าไหร่ สำหรับรถไฟฟ้าทั่วไป ถึงแม้ตามสเป็คแล้วสายชาร์จที่แถมมากับรถ (บางทีเรียกสายชาร์จฉุกเฉิน) แบบเสียบปลั๊กไฟบ้านธรรมดา (กำลังไฟไม่เกิน 2.2 – 3.7 kW) จะใช้เวลาชาร์จจาก 0 ถึง 100% เกิน 10 ชั่วโมงขึ้นไปก็จริง แต่ในการใช้แต่ละวันหากเราไม่ได้วิ่งไกลมากทุกวัน เช่นวิ่งแค่วันละ 50 – 60 กิโลเมตร อาจจะชาร์จเพียงแค่ 2 – 3 ชั่วโมงต่อวันก็เต็มแล้ว แต่ถ้าวิ่งไกลกว่านั้น การติดตั้งเครื่องชาร์จแบบใช้ไฟบ้าน 1 เฟส (กำลังไฟ 7 kW ขึ้นไปจนถึง 11 kW) ก็ยังชาร์จได้เร็วขึ้นเท่าตัวหรือมากกว่า (แต่ต้องติดตั้งและเดินสายไฟเข้าเครื่องใหม่ห้ามเสียบปลั๊ก) ดังนั้นชาร์จแค่ 3 – 4 ชั่วโมงอาจพอวิ่งได้ระยะทางถึง 100 กิโลเมตร และชาร์จเต็ม 0 – 100% ได้ในเวลา 7 – 8 ชั่วโมง

ที่สำคัญคือไม่ว่าจะชาร์จแบบใดก็ตาม ถ้าระบบไฟเดิมที่่ติดตั้งในบ้าน(ขนาดมิเตอร์์) ค่อนข้างเล็ก เช่น 15/45A (ปกติ 15 แอมป์/สูงสุด 45 แอมป์) หากจะติดตั้ง wall box จำเป็นจะต้องแจ้งการไฟฟ้าขอเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหญ่ขึ้นเป็น 30/100A ก่อน (ในขณะที่มิเตอร์เล็กกว่านั้นอย่าง 5/15A นี่ไม่พอใช้กับสายชาร์จฉุกเฉินด้วยซ้ำ) ส่วนระบบไฟ 3 เฟส นั้นเหมาะสำหรับเครื่องชาร์จความเร็วสูงแบบ AC (AC Fast Charge) ที่มีกำลังสูงสุด 22 kW และชาร์จได้ 0 – 100% ในเวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง ซึ่งเฉพาะกรณีนี้้ถึงจะต้องเดินสายไฟฟ้าจากมิเตอร์เข้าบ้านใหม่เลย


แต่ก่อนจะสรุปว่าจะใช้เครื่องชาร์จระดับไหน กินไฟเท่าไหร่ กี่เฟสต้องดูทีู่่ ข้อจำกัดหรือสเป็คของรถคันที่ใช้ด้วยว่ารับไฟได้เท่าไหร่ ถ้ารถรับไฟจากการชาร์จแบบ AC ได้น้อยก็ไม่ควรติดตั้งเครื่องชาร์จที่แรงกว่านั้น เพราะสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น นอกจากจะเผื่อไว้รองรับรถไฟฟ้ารุ่นที่ใหม่กว่า ชาร์จเร็วกว่าด้วยในอนาคต

ข้อมูลจากหนังสือ : รถไฟฟ้า EV 101
ซื้อได้ที่ : https://www.dplusshop.com/p/608